จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)จัดโครงการประกวดการแข่งขันSIFE SECC 2023 (Social Enterprise Case Competition (SECC) ในรอบชิงชนะเลิศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)จัดโครงการประกวดการแข่งขันSIFE SECC 2023 (Social Enterprise Case Competition (SECC) ในรอบชิงชนะเลิศ
โดยมี คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี รองศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองศาสตราจารย์ ดร. สมชนก ภาสกรจรัส นำทีมนิสิตเข้าฟังและให้การต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพและทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษ 21
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของบทบาทของเยาวชนกับ Social Enterprise ต่อสังคมไทย” และ คุณสุรพล อุทินทุ ผู้บริหารสำนักประสานงานภายนอก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บรรยายในหัวข้อ “ความร่วมมือของโครงการ Eisa กับสถาบันต่างๆ รวมถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ณ โรงละครการจัดการเภตราลัย (Black Box) ชั้น 14 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566
.
ชุมนุม SIFE คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการ SIFE Social Enterprise Case Competition (SECC) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งในและนอกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีได้นำความรู้ด้านธุรกิจและองค์ความรู้หลากสาขาที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาธุรกิจในชุมชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทางชุมนุม SIFE จะนำแนวทางการแก้ปัญหาของแต่ละทีมไปต่อยอดในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
สำหรับโจทย์ในการแข่งขัน SIFE SECC 2023 อ้างอิงมาจากโครงการปลาร้าแปรรูป ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ที่ทางชุมนุม SIFE ได้เข้าไปพัฒนาร่วมมือกับโครงการ EISA (Education Institute Support Activity) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ชุมชนปลาร้าแปรรูป เป็นชุมชนที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและมีจุดเด่นคือการผลิตปลาร้าจากปลาดุกและปลานิล นอกจากนี้ชุมชนยังมีผลิตภัณฑ์รองเป็นน้ำพริกซึ่งเป็นการนำเอาวัตถุดิบจากปลามาดัดแปลงเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม โดยโจทย์การแข่งขันในปีนี้ จะครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องการขยายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า เป็นต้น โดยมีเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สถานการณ์ ผลกระทบต่อชุมชนและความยั่งยืน และความเป็นไปได้ของแนวทางที่ผู้เข้าแข่งขันได้นำเสนอ
.
สำหรับผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศงาน SIFE SECC 2023 โดยมีคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศ ดังนี้
1. ผู้ช่วยอธิการบดี อ.ดร.ศันธยา กิตติโกวิท ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. คุณนันทัชพร จิระวิชชาสกุล Sustainability Specialist CASEAN
3. คุณเลอทัด ศุภดิลก Director of e-Commerce, Line Company(Thailand) Limited (SIFE รุ่นที่ 1)
4. คุณชยุตม์ สกุลคู ประธานบริษัท Tact Social Enterprise จำกัด
โดยในการแข่งขัน ทางคณะกรรมการจะไม่ทราบรายชื่อนิสิตและคณะที่สังกัดในขณะการให้คะแนนแต่อย่างใด
.
ผลการประกวดทีมผู้ชนะเลิศ ได้แก่ ทีม “ชนะไม่ด้วยเล่ห์ก็ด้วยกล” สมาชิกในทีมมีดังต่อไปนี้
1. ธัญญภัค ลีลาประชากุล (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
2. ชานน จิระวรรธนะ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
3. กันต์ธีภพ ไทยประดิษฐ์ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
4. ณัฐพงษ์ ดิสสานนท์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
และรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม ” SIFE ว่าซิบ่ทิ่มกัน”
.
ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รางวัลมาในครั้งนี้และทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ และขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ วรานุศุภากุล ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านพัฒนานิสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านพัฒนานิสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัท กุลวานิช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต
สมาชิกชุมนุม Chula Case Club และ SIFE Alumni ทุกท่านที่ให้เกียรติมาเป็นคณะกรรมการในSemi-Final ของโครงการ SIFE SECC 2023
.
การจัดงานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยการจัดงานของฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตรองศาสตราจารย์ ดร. สมชนก ภาสกรจรัส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นราพงศ์ ศรีวิศาล อาจารย์ ดร.สาวิตรี บุญพัชรนนท์ อาจารย์ ดร.ธิติ โอสถากุล อาจารย์ ดร.ถิรพุทธิ์ ปิติฉัตร ทีมงานเจ้าหน้าที่กิจการนิสิต และนิสิตชุมนุม SIFE เป็นแม่งานในการจัดงานในครั้งนี้